บทสวดมนต์สำคัญ เนื่องในวันวิสาขบูชา 2566 เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมคำบูชาดอกไม้ธูปเทียน และคำกล่าวขณะเวียนเทียน
วันวิสาขบูชา 2566 ตรงกับวันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา
.
โดยเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 6
.
ชาวพุทธ จึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ”
.
เดอะ พราวด์ ขอเชิญชวน พุทธศาสนิกชนร่วมเข้าวัดบำเพ็ญบุญกุศล พร้อมบทสวดมนต์สำคัญ เนื่องในวันวิสาขบูชา 2566 เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมคำบูชาดอกไม้ธูปเทียน และคำกล่าวขณะเวียนเทียน
.
บทบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
บทสวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วัชชาจะระณะสัมปันโน สุขโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
(นำ) องค์ใดพระสัมพุทธ (รับพร้อมกัน) สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
(นำ) ธรรมะคือคุณากร (รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล
และเก้านับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจครอง ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ)
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย,
ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
(นำ) สงฆ์ใดสาวกศาสดา (รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าขอนพหมู่พระศรา- พกทรงคุณา-
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ)
บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา
(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
วิสาขะ ปุณณะมายัง โยชาโต อันติมะชาติยา
ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง อะโถปิ ปะรินิพพุโต
โลเก อะนุตตะโร สัตถา ทะยาณาณัณณะวาสะโย
นายะโก โมกขะมัคคัสมิ ติวิธัตถูปะเทสะโก
มะหาการุณิกัง พุทธัง มะยันตัง สะระณัง คะตา
อามิเสหิ จะ ปูเชนตา ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา
อิมันทานิ สุนักขัตตัง อะภิมังคะละสัมมะตัง
วิสาโขฬุกะยุตเตนะ ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง
สัมปัตตา อะนุกาเลนะ พุทธานุสสะระณาระหัง
ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ กาละภูตัง สะยัมภุโน
ตัง สัมมานุสสะระมานา สุจิรัง นิพพุตา มะปิ
ปะสันนาการัง กะโรนตา สักกาเร อะภิสัชชิยะ
ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร มาลาวิกะติอาทะโย
ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
สะมาหะริตวา เอกัตถะ ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง
นะรานัญจาปิ สัพเพสัง สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง
ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ สัมพุทธะคุณะทีปะนัง
พุทธัสสุโพธิตาทีนัง ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน ในวันวิสาขบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ
ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน
ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ
สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ-
พราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิ อะภิสัมพุทโธ
นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต
โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา
สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆม อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
อะยัง โข ปะนะ ถูโป (ปะฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะโต (กะตา) ยาวะเทวะ
ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาทะ สังเวคะปะฏิ ลาภายะ
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมี กาลัง ตัสสะภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง
ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง
สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา อิมัง ถูปัง
(ปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
บทสวดมนต์ขณะเวียนเทียน
จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส
- รอบที่หนึ่ง ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
(คำแปล)
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
- รอบที่สอง และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ*
*(ห หีบ ในภาษาบาลีออกเสียงเป็น ฮ นกฮูก)
(คำแปล)
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ
- รอบที่สาม ระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน
เวียนเทียนออนไลน์ รอบที่ 3 บทสวดระลึกถึงพระสงฆ์
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
(คำแปล)
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
เวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี